ประเทศอียิปต์ในสมัยโบราณมีบริเวณที่สำคัญมากมาย

22

อียิปต์อาศัยความสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์จึงเจริญยาวนาน ในสมัยโบราณอียิปต์ใช้แม่น้ำไนล์ในการดำรงชีวิตอยู่ อียิปต์เป็นประเทศที่มีอากาศร้อน และแห้งแล้ง มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในช่วงฤดูหนาวและตกเฉพาะบริเวณเดลต้า อียิปต์ได้อาศัยความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ถ้าขาดแม่น้ำไนล์อียิปต์ก็จะไม่แตกต่างกับทะเลทรายที่ร้อนระอุ เฮโรโดดัส นักประวัติศาสตร์กรีกโบราณได้กล่าวไว้ว่า อียิปต์เป็นของขวัญของแม่น้ำไนล์ อียิปต์บน ได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา มีความยายประมาณ 500 ไมล์ ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตาเต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้งอียิปต์ล่างหรืออียิปต์ต่ำ ได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัด ไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณนี้ชาวกรีกโบราณเรียกว่า เดลต้า เป็ยบริเวณปลายสุดของลำน้ำ มีความยาวประมาณ 100 ไมล์ อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขั้นในแถบนี้

ความแตกต่างของสภาพภูมิศาสตร์อียิปต์ทั้งสองภาคนี้ คือภาคหนึ่งเป็นที่สูงและอีกภาคหนึ่งเป็นที่ลุ่ม อียิปต์ได้เปรียบประเทศอื่นในแถบตะวันออกใกล้ในเรื่องกำแพงธรรมชาติ ที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่นไว้ได้มาก ทางใต้แม่น้ำไนล์ที่อยู่ใต้เขตแดนอียิปต์ลงไปอยู่บนที่สูงมีแนวน้ำตกมาก ทำให้การรุกรานเข้ามาในอียิปต์โดยทางเรือยากมาก ยกเว้นทางตะวันออกและตะวันตก และการโจมตีทางบกจากพวกชนเผ่าเซติมิคที่เป็นพวกเร่ร่อน สมัยก่อนราชวงศ์ อียิปต์ที่แยกกันอยู่อย่างอิสระ หรือจังหวัดเล็ก ๆ ที่เรียกว่าโนมิส ซึ่งจะมีสัญลักษณ์ของตนต่างกันเช่น สุนัข เหยี่ยว แมงป่อง เป็นต้น จังหวัดเล็ก ๆ เหล่านี้มีประมาณ 40 แห่งมีอารยธรรมที่ก้าวหน้ามากแล้ว แม้ว่าความรู้ในสมัยนี้มีไม่มากนักเพราะไม่มีการบันทึกไว้ มีการทดน้ำทำเขื่อน และมีการประดิษฐ์ตัวอักษรรูปภาพของอียิปต์ใช้แล้ว เพราะอักษรอียิปต์ที่จารึกในสมัยราชวงศ์หนึ่ง คือในสมัยฟาโรห์เมนิส เป็นอักษรที่มีรูปแบบแผนที่ซับซ้อนมาก มีการปลูกต้นป่านลินินใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอียิปต์ที่ดำเนินมาอย่างราบรื่น

camel-riding-in-egypt-lead
อียิปต์ เป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลามซึ่งเป็นที่นิยมของนักศึกษาไทยมุสลิม ปัจจุบันไทยมีโครงการร่วมมือด้านการศึกษากับมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ของอียิปต์ โดยได้สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษาที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส และการส่งครูมาร่วมทำการสอน นอกจากนั้นปัจจุบันมีนักศึกษาไทยซึ่งกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ประมาณ 2,500 คน โดยในแต่ละปีมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ได้ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยมุสลิมประมาณปีละ 60-80 ทุน และทุนจากรัฐบาลอียิปต์ ซึ่งให้แก่นักเรียนไทยทั่วไปปีละ 2 ทุน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ยังได้ส่งครูมาสอนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามหลายแห่งในไทยมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ขณะเดียวกันไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่อียิปต์ในหลายสาขา อาทิ การจัดอบรมหลักสูตรด้านการท่องเที่ยว หลักสูตรฝึกอบรมด้านการบริหารธุรกิจการส่งออก หลักสูตรด้านการบริหารจัดการลุ่มน้ำและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอียิปต์ ดำเนินมาอย่างราบรื่นและก้าวหน้ามาตามลำดับ โดยหลังจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมมือทวิภาคีไทย-อียิปต์ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2546 และครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ.2549 ไทยและอียิปต์ได้ขยายความร่วมมือระหว่างกันอาทิ ความร่วมมือด้านข่าวกรอง การผลากดันให้แต่ละฝ่ายเป็นประตูทางธุรจิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน และการแลกเปลื่ยนทางวัฒนธรรม โดยแฉพาะในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูต ไทยและอียิปต์ ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายจะเพิ่มมูลค่าทางด้านการค้าเป็น 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี พ. ศ. 2551 เพิ่มพูลความร่วมมือทางด้านพลังงาน วิชาการและการศึกษา อาทิ ความร่วมมือด้านการป้องกันโรคไข้หวัดนก การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยมุสลิมของ มหาวิทยาลัย อัล อัซอัร และการแลกเปลื่ยนการเยือนทั้งในระดับ รัฐบาล ภาคเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนของทั้งสองประเทศ นับเป็นการก้าวหน้าทางความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ

ประเทศไทยและสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2497 อียิปต์เป็นประเทศอาหรับประเทศแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ดำเนินไปอย่างราบราบรื่น ต่างสนับสนุนกันในเวทีระหว่างประเทศ และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอของคณะผู้แทนทั้งจากภาครัฐบาล ภาคเอกชน สื่อมวลชน และประชาชน สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาตอนเหนือที่ให้ความร่วมมือด้านการศึกษากับประเทศไทย โดยเฉพาะทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยเพื่อศึกษาวิชาศาสนาอิสลาม และภาษาอาหรับในประเทศอียิปต์เป็นจำนวนมาก เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่นักเรียนเหล่านี้เพื่อสามารถนำไปใช้ศึกษาต่อในในระดับมหาวิทยาลัยของอียิปต์ หรือเพิ่มคุณวุฒิในการทำงานได้

การปฏิรูปและผลักดันระบบทางเศรษฐกิจของอียิปต์

fes013
อียิปต์ เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด โดยมีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 กม.² ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรซีนาย ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ซึ่งประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายซาฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ ในปัจจุบันอียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ

อียีปต์มีแม่น้ำไนล์ผ่านกลางประเทศซึ่งทำให้เป็นลำน้ำที่อุดมสมบูรณ์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นที่บริเวณลุ่มน้ำแห่งนี้ในช่วง 30 ปีผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการปฎิรูปเศรษฐกิจจากแบบรวมศูนย์ที่เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี NASSER ให้เปิดเสรีมากขึ้น นับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา นายกรัฐมนตรี NAZIF ได้เลิกภาษีเงินได้และภาษีนิติบุคคล ลดการอุดหนุนด้านพลังงาน และแปรรูปรัฐวิสาหกิจ GDP ขยายตัวกว่าร้อยละ 5 ต่อปีในช่วงปี 2005-2006 แม้ว่าจะสามารถผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวแต่รัฐบาลยังไม่สามารถยกระดับมาตรฐานการครองชีพของคนอียิปต์โดยรวม และรัฐบาลยังคงต้องให้การอุดหนุนในสิ่งจำเป็นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งการอุดหนุนดังกล่าวส่งผลให้เกิดการขาดดุลงบประมาณกว่าร้อยละ 10 ของ GDP ในแต่ละปี ในด้านการลงทุนจากต่างประเทศก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ทั้งนี้ในการที่จะกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รัฐบาลจะต้องผลักดันให้เกิดการปฎิรูปอย่างจริงจัง ด้านพลังงาน โดยเฉพาะการส่งออกก๊าซธรรมชาติที่มีอนาคตที่แจ่มใส

ในปัจจุบันอียิปต์มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้น และมีการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเข้าไปประกอบอุตสาหกรรมและลงทุนสาขาต่างๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมประเภทที่ไทยผลิตและส่งออกด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังอียิปต์ในอนาคต อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอียิปต์ได้เข้าไปร่วมเป็นสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและใต้ในปี พ.ศ. 2541โดยมีจุดมุ่งหมายขยายตลาดสินค้าอียิปต์เข้าไปยังประเทศต่างๆในแอฟริกา  เมื่อเดือน มิ.ย. 44 อียิปต์ได้ลงนามร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งจะมีผลตต่อความสัมพันธ์กับอียูในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การเงิน ลังคม วัฒนธรรมและการกงสุล รัฐบาลอียิปต์ได้ใช้ความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้มีการค้าเสรี การแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน ส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มผลผลิต ผลเลิกการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อียิปต์ได้ขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก Paris Club รวมทั้งจากประเทศกลุ่มอาหรับอียิปต์ได้ทำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจการตลาดให้มีการค้าเสรี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ยกเลิกควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสะดวกขึ้น

แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลกในประเทศอียิปต์

อียิปต์ เป็นประเทศที่มีผู้คนมากหมายต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรมทำให้วัฒนธรรมการแต่งกายของคนอียิปต์มีความแตกต่างโดยมีพื้นฐานทางด้านความเชื่อ เช่นมุสลิม คริสต์เตียน ยิว และอื้นๆด้วยความเจริญของประเทศอียิปต์และเป็นประเทศที่ที่ทันสมัยและมีอิทธิผลของวัฒนธรรมตะวันตกมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันตกอยู่บางมากหรือน้อยก็อยู่ที่เมืองที่มีความเจริญกับความไม่เจริญดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราสามารถพบเห็นมุสลีมะห์ที่ไม่คงความเป็นเอกหลักของเขาสุดแต่ทีจิตสำนึกและความปราถนาของแต่ละคน คนอียิปต์เป็นคนที่มีอัธยาศัยดี คุ้นเคยต่อนักท่องเที่ยว กระตือรือร้นที่จะทักทายกับชาวต่างชาติโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ และมักจะยินดีที่นักท่องเที่ยวมาเยือนอียิปต์ ในการสนทนา คนอียิปต์มักจะสบตากับคู่สนทนาเพื่อเป็นการให้เกียรติ และชอบใช้สัญลักษณ์ เช่นการใช้สัญญาณมือประกอบการอธิบายต่างๆ ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้แตกต่างจากสากล

อารยธรรมที่มีความยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลกที่มีถิ่นกำเนิดในดินแดนใกล้เคียงกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์เป็นอารยธรรมที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้างและมีผลต่อพัฒนาการทางความคิดในหลายๆ ด้าน เนื่องจากมีมรดกทางสถาปัตยกรรม เช่น ปิรามิดและแนวความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาและปรัชญาอีกด้วย โดยอารยธรรมของอียิปต์ได้สร้างมรกดมากมายหลายด้านแก่โลก การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆของชาวอียิปต์โบราณนอกจากการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดจากความโหดร้ายของธรรมชาติยังได้รับแรงผลักดันจากความคิดความเชื่อทางศาสนาและชีวิตหลังความตายอีกด้วย

ชาวอียิปต์ยอมรับนับถือเทพเจ้ามากมาย ในแต่ละชุมชนมีวัดหรือวิหารศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา บูชาเทพเจ้าและดวงวิญญาณของฟาโรห์ ชาวอียิปต์นับถือเทพแทบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นหมาใน จระเข้ ฮิปโปโปเตมัส แมว แมลงเต่าทอง และในเวลาต่อมาการบูชาสัตว์ได้เปลี่ยนเป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ และเป็นคนโดยสมบูรณ์ เช่นการนับถือดวงอาทิตย์ ซึ่งถือว่าเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ และเทพเจ้าที่สำคัญที่มีรูปร่างเป็นมนุษย์ซึ่งชาวอียิปต์ให้ความนับถือ คือ โอซิริส (Osiris) ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่มีความอมตะ เป็นประมุขแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย และเป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และความตาย เทพเจ้าเร (Re) เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ผู้ประทานชีวิต

บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศสำคัญอย่างยิ่งกับสังคมต่อการพัฒนาประเทศอียิปต์

การปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมอย่างมาก เทคโนโลยีและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตและวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม อียิปต์ทั้งด้านความเป็นอยู่ การสื่อสาร การทำงาน การคมนานคมและการขนส่ง ธุรกิจและอุตสาหกรรม การแพทย์ วัฒนธรรม และการศึกษา

ในปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า นาโนเทคโนโลยี(Nanotechnology) ทำให้การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้หลายพันล้านคนทั่วโลกและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศและบริการต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยอาจเรียกได้ว่าเป็น สังคมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์

เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศอียิปต์ก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังไม่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้าในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐาน (การศึกษา และการสาธารณสุข ฯลฯ) ในการบริหารประเทศอียิปต์ และในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มันอย่างไร ในโลกปัจจุบันแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมักจะมีบทบาทสูงในการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก ในอนาคตธุรกิจบันเทิงจะเป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่จะทำเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลอย่างสูงกับแนวความคิด ความอ่านของผู้คนในสังคม เพราะเป็นวิถีทางหนึ่งที่ผู้ร่วมบันเทิงได้รับอิทธิพลทางความคิดจากผู้อื่นที่ร่วมอยู่ในวงบันเทิง และยอมรับสถานภาพว่าตนก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ การถ่ายทอดแนวความคิดระหว่างบุคคลในสังคมนั้นก็เป็นสิ่งที่เราเรียกว่า วัฒนธรรมนั่นเอง การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องราวที่มีความสำคัญไม่จำกัดเฉพาะนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ แต่มีความสำคัญกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพและทุกวัย

การเจริญเติบโตของสังคัมและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางวัฒนธรรม

ในปัจจุบันมีตำนานและเรื่องราวมากมายในประเทศอียิปต์ ประเทศอียิปต์นั้นเป็นประเทศต้นๆเลยที่เรามักจะนึกถึงเมื่อพูดถงเรื่องราของตำนานเพราะประเทศอียิปต์นั้นเก่าแก่และยาวนานมีเรื่องราวเกี่ยวกับกษัตริย์องค์ต่างๆหรือตำนานที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถานหรือโบราณวัตถุอีกด้วย

ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมอียิปต์โบราณนั้นเราสามารถกล่าวถึงเรื่องราวได้มากมาย อารยธรรมอียิปต์นั้นเป็นอารยธรรมที่กว้างขวางและยาวนาน ความเจริญด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยีหรืออารยธรรม ของอียิปต์นั้นมีมากแต่ถึงแม้ประเทศอีอิปต์จะมีความเจริญด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยีหรืออารยธรรมมากแค่ไหนเรื่องตำนานความลี้ลับก็ยังคงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับประเทศอียิปต์เสมอมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฟาโรห์ พีระมิดหรืออื่นๆอีกมากมายของประเทศอียิปต์ที่ไม่ว่าประเทศอียิปต์จะมีความเจริญมากแค่ไหนก็ไม่สามารถอธิบายได้ถึงเรื่องราวนี้ได้แม้แต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถหาเหตุผลข้อเท็จจริงของการกระทำที่เหลือเชื่อเหล่านี้ได้ ไม่ว่าความเจริญด้านเทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์จะมีคามเจริญมากแค่ไหนก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดจึงสมารถสร้างพีระมิดได้โดยไม่มีรถเครนหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆดังนั้นเรื่องเหล่านี้จึงเป็นประเด็นเป็นปมปัญหาที่ไม่สามารถอธิบายได้แม้แต่วิทยาศาสตร์และนี้จึงเป็นประเด็นที่มาของการจัดทำประเด็นที่ว่า ตำนานอารยธรรมียิปต์โบราณ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างอารยธรรมของมนุษย์  โดยในแต่ละยุคแต่ละสมัยมักจะมีการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีก้เท่ากับว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงอารยธรรมในแต่ละยุคแต่ละสมัยด้วยเช่นกัน เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคับที่ก่อให้เกิดอารยธรรมของอียิปต์ คือ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์  เทคโนโลยีของมนุษย์ยังคงเป็นแบบง่ายๆ แต่ภายหลังเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้น  ซึ่ง เทคโนโลยีแบบใหม่นี้มักเกิดขึ้นจากที่มนุษย์พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ เพื่อสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมบุรณ์  ดังนั้นมนุษย์จึงพยายามขวนขวายหาวิธีที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติหรือบางแห่งต้องหาวิธีเอาชนะธรรมชาติในทุกด้าน ความพยายามทั้งสองประการนี้ก่อให้เกิดการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ  เชน  เทคโนโลยีในด้านเกษตร  ซึ่งในบางท้องที่เกิดน้ำท่วม เกิดความแห้งแล้ง ก็ต้องมีการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อประโยชน์ในการเกษตรและการประมง บางท้องที่ต้องเรียนรู้วิธีการนำเหล็กมาใช้เพื่อทำคันไถและทำอาวุธ หรือตัดไม้เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทางการเกษตรหรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร  นอกจากนี้ในท้องที่ที่เป็นทะเลทราย  มนุษย์ยังสามารถปรับปรุงที่ดิน  ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้  ส่วนด้านการประมง  แรกเริ่มมนุษย์ใช้กระดูกสัตว์ทำคันเบ็ด  ต่อมาก้เริ่มพัฒนาเครื่องมือจับสัตว์ เช่น แห อวน และเรือ เป็นต้น ขณะที่เทคโนโลยีทางด้านขนส่งและการคมนาคม เริ่มแรกมนุษย์รู้จักการใช้ม้าเป็นพาหนะวึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน  และทำให้เมืองในอดีตได้ขยายตัวและมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมากตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง เทคโนโลยีด้านอาวุธ เทคโนโลยีด้านเครื่องมือเครื่องใช้  เทคโนโลยีสาธารณสุข ฯลฯ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นในยุคต่างๆ  เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการความเจริญและการสร้างสรรค์อารยธรรมของอียิปต์

การใช้เทคโนโลยีกับวิธีการสร้างมหาพีระมิดแห่งกิซ่า

วิธีการยกแท่งหินขนาดใหญ่หนักหลายสิบตัน เพื่อประกอบขึ้นเป็นพีระมิดอย่างแม่นยำยังเป็นปริศนา โครงสร้างเหนือห้องเก็บโลงพระศพ ในพีระมิดคีออปส์ ประกอบขึ้นด้วย แท่งหินแกรนิตสีแดงขนาดใหญ่หลายสิบแท่งซ้อนทับกัน 5 ชั้น แต่ละแท่งมีน้ำหนัก 50 ถึง 70 เมตริกตัน แท่งหินขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในหมู่พีระมิดกิซ่าอยู่ภายในวิหารข้างพีระมิดเมนคีเรเป็นแท่งหินปูนที่มีน้ำหนักมากถึง 200 เมตริกตัน เป็นน้ำหนักประมาณเท่ากับชิ้นส่วนหนักที่สุดภายในเรือไททานิค ซึ่งไม่มีปั้นจั่นใดๆ ในอู่ต่อเรือขณะนั้นสามารถยกได้ จนผู้สร้างเรือต้องว่าจ้างทีมงาน ชาวเยอรมัน มาสร้างปั้นจั่นยักษ์สำหรับยกชิ้นส่วนดังกล่าว

เฮโรโดตุส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งเดินทางไปอียิปต์ช่วง 450 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 2 พันปีเศษหลังจากพีระมิดสร้างเสร็จ ได้บันทึกคำบอกเล่าของนักบวชชาวอียิปต์โบราณไว้ว่า ในการสร้างพีระมิดชาวอียิปต์โบราณมีอุปกรณ์บางอย่างทำด้วยไม้ใช้สำหรับยกหินขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามไม่พบหลักฐานอื่นๆ ที่อ้างอิงถึงเครื่องมือนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด หรือบันทึกโบราณ เฮโรโดตัสยังได้บันทึกไว้ว่าการก่อสร้าง พีระมิดคูฟู ทำเฉพาะช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งประชากรว่างจากการเพาะปลูก นั่นคือ ประมาณปีละ 3 – 4 เดือน และก่อสร้างอยู่ 20 ปี จึงแล้วเสร็จ

เนื่องจากเทคโนโลยีในขณะนั้นยังไม่มีระบบปั้นจั่นไม่รู้จักแม้กระทั่งล้อเลื่อน และไม่มีหลักฐานการใช้พาหนะที่ลากด้วยแรงสัตว์ การเคลื่อนย้ายหินจึงใช้แรงงานคนลากเข็นไปบนแคร่ไม้ โดยมีการราดน้ำเพื่อช่วยลดแรงเสียดทาน การเคลื่อนย้ายวัตถุน้ำหนักมากๆ ด้วยวิธีนี้มีหลักฐานเป็นภาพแกะสลักนูนต่ำบนฝาผนังหิน ซึ่งแสดงการเคลื่อนย้ายเทวรูปหินขนาดใหญ่ด้วยแรงคนนับร้อย

วิธีการลำเลียงหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้างในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างการก่อสร้างคืออีกส่วนหนึ่งที่เป็นปริศนา แนวคิดแรกเริ่มเชื่อกันว่าชาวอียิปต์โบราณใช้วิธีสร้างทางลาดบริเวณด้านข้างของพีระมิด และชักลากหินขึ้นตามทางลาดที่ก่อสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความสูงของระดับการก่อสร้างจนถึงจุดสูงสุดยอด และเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จจึงทำการรื้อทางลาดดังกล่าวออกคงเหลือไว้แต่ พีระมิด ที่สร้างเสร็จ ถ้าแนวคิดนี้เป็นจริงสิ่งก่อสร้างใหญ่ที่สุดในโลกยุคนั้นอาจไม่ใช่พีระมิดคูฟู แต่อาจเป็นทางลาดสูงเท่าตึก 40 ชั้นที่ใช้ก่อสร้างพีระมิดแทน มีแนวคิดอื่นๆ เสนอว่าทางลาดดังกล่าวอาจไม่ได้สร้างอยู่ด้านใดด้านหนึ่งข้างพีระมิด แต่อาจสร้างเป็นทางวนรอบพีระมิดแทน หรืออาจบางทีแต่ละชั้นของพีระมิดนั่นเองคือทางที่ใช้ชักลากหินขึ้นสู่ชั้นถัดไป ผ่านทางลาดขนาดเล็กที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างแต่ละชั้น

แม้จะยังไม่มีข้อสรุปถึงวิธีการลำเลียงหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้าง แต่การประกอบหินแต่ละก้อนสามารถสรุปได้ว่าผ่านการตัดแต่งแบบก้อนต่อก้อน เนื่องจากแต่ละก้อนต้องมีขนาดและแง่มุมพอดีกับหินก้อนอื่นๆที่จัดเรียงไว้ก่อนหน้า เพราะในการก่อสร้างพีระมิดไม่มีการใช้วัสดุเชื่อมประสาน หินแต่ละก้อนวางซ้อนกันอยู่ได้ด้วยน้ำหนักกดทับด้านบน และระนาบที่เท่ากันในแต่ละชั้นจึงต้องตัดแต่งอย่างปราณีตแบบก้อนต่อก้อนก่อนประกอบเข้าสู่ตำแหน่ง

ด้วยเครื่องมือง่ายๆ อย่างไม้วัดระดับแนวราบ และสายดิ่งที่ใช้ตรวจสอบผิวหน้าหินในแนวตั้ง โดยใช้ลิ่มหินควอตซ์ (Quartz) ซึ่งเป็นหินอัคนีความแข็งสูงในการขัดแต่งผิวหน้าของหินแต่ละด้านให้เรียบ ช่างหินอียิปต์โบราณสามารถสร้างผลงานดีเยี่ยม จนผิวสัมผัสระหว่างหินแต่ละก้อนห่างกันเพียง 0.02 นิ้วเท่านั้น

ควรทราบอีกว่า ณ เวลานั้นโลกยังไม่เข้าสู่ ยุคเหล็ก โดยที่เทคโนโลยีการตีเหล็กยังไม่ถูกพัฒนาขึ้นจนกว่าอีก 1 พันปีต่อมา เครื่องมือโลหะที่มีใช้ในสมัยนั้นทำด้วย ทองแดง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายหากต้องการตัดหินปูนและหินแกรนิตให้ได้ขนาดและรูปทรงตามต้องการ ผู้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยียุคโบราณเชื่อว่า ช่างอียิปต์โบราณใช้ แท่งโลหะพันด้วยเชือก เพื่อหมุนปั่นแท่งโลหะเจาะรูลึกในก้อนหินโดยมีการโรยผงทรายลงในรูที่เจาะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือ

วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ของประเทศอียิปต์

มนุษย์รู้จักรักษาตัวมาแต่ดึกดำบรรพ์ โดยสัญชาติญาณแห่งการธำรงไว้ซึ่งความอยู่รอดของตนเองได้มีอยู่ในตัวของมนุษย์ตั้งแต่เกิดมีมนุษย์มาในโลกนี้ การสาธารณสุขในยุคดั้งเดิมนี้ก็มีอยู่บ้าง แต่ส่วนมากจะเน้นด้านการแพทย์ ในยุคนี้คนเชื่อว่าโรคเกิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ การที่มนุษย์จะพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บได้ก็โดยการเซ่นไหว้ การบูชายันต์ เป็นต้น

ทุกสังคมของมนุษย์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถ้ามองย้อนไปในอดีต การรักษาโรคเริ่มแรกตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์พบในประเทศอียิปต์ ในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิปต์มีหมอมากมาย และเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น หมอฟัน หมอตา หมอเกี่ยวกับโรคท้องและลำไส้ ซึ่งได้เรียนรู้มาจากที่เก็บศพของฟาร์โรห์

ความรู้ทางการแพทย์ที่ตกมาถึงเราก็คือ บันทึกที่เขียนลงบนกระดาษพาไพรัส (เป็นกระดาษที่เก่าแก่ที่สุดของอียิปต์) ซึ่งมีมากกว่า 7 ม้วนทีชี้ให้เห็นถึงความรู้ทางการแพทย์ของอาณาจักรเก่าที่ต่อมาได้เป็นรากฐานของความรู้ในสมัยอาณาจักรกลางและอาณาจักรใหม่ พาไพรัส ที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตศักราชที่ได้กล่าวถึงการรักษาโรคสตรี และโรคเด็ก

สมัยโบราณ คือ ฮิปโปรเครตีส (hippocretes) เอมพรีโดคริส(Empedocles 490-430 ก่อนคริสตศักราช มีการตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นที่เกาะคอส (Cos) ฮิปโปรเครตีส (460-377 ก่อนศริสศักราช : ตำราชุดเกี่ยวกับการรักษาและงานวิจัยทางการแพทย์ (hippocretes collection)

– อริสโตเติล ( 384-322 ก่อนคริสศักราช) ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเจริญสูงสุดของโรมัน
ประมาณ ค.ศ. 20 มีตำราทางการแพทย์ชื่อ De Medicine เกิดขึ้นที่โรม เขียนโดย เซลซัส (Celsus)

– กาเลน (Galen) แพทย์ชาวกรีกผู้โด่งดังในกรุงโรมได้ทดลองทางสรีระศาสตร์ เขายอมรับวิธีการสอนทางการแพทย์ของฮิปโปรเครตีสและเอมพิโดครีส ในช่วงสมัยกลางจนถึงยุค
Renaissnce สู่ยุโรป ต่อมายุโรปได้กลายเป็นศูนย์กลางของความรู้ปละการค้นพบของเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข

จากการวางรากฐานโดยการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาในการศึกษาทางการแพทย์ของแพทย์ในอดีต ได้นำไปสู่การศึกษาค้นคว้าที่ลงลึก และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ประจวบเหมาะกับเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ได้ช่วยสร้างเครื่องมือและสิ่งประดิษฐ์ที่เข้ามาช่วยในการอธิบายสิ่งที่ค้นพบมีน้ำหนักหน้าเชื่อถืออันเนื่องจากหลักฐาน ที่เห็นชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของวิทยาศาสตร์และการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อเกือบ 300 ปีที่ผ่านมา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขเกิดขึ้นจากการที่ มนุษย์มีปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การเจ็บป่วย และโรคระบาด เป็นแรงผลัดดันให้มนุษย์ต้องพยายามต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ยิ่งปัญหามากขึ้นเท่าไรแรงผลักดันที่จะต่อสู้ค้นหาวิธีการก็มากขึ้นเท่านั้น เราจะเห็นได้ว่ามนุษย์ได้มีความพยายามมาเรื่อยๆเพื่อหาวิธีการรักษาโรคต่างๆ รวมทั้งมีการศึกษาค้นคว้าและนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวินิจฉัยโรค

อารยธรรมระบอบการปกครองของประเทศอียิปต์


ระบอบการปกครอง จักรวรรดิ อียิปต์มีระบอบการปกครองที่มั่นคง ชาวอียิปต์ยอมรับอำนาจและเคารพนับถือฟาโรห์หรือกษัตริย์ของตนประดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง ดังนั้นฟาโรห์จึงมีอำนาจเด็จขาดในการปกครองและบริหารประเทศทั้งด้านการเมือง และศาสนา โดยมีขุนนางเป็นผู้ช่วยในด้านการปกครอง และมีพระเป็นผู้ช่วยด้านศาสนา การที่ฟาโรห์มีอำนาจเด็จขาดสูงสุดทำให้อียิปต์พัฒนาอารยธรรมของตนได้ต่อ เนื่อง เพราะฟาโรห์สามารถสร้างสรรค์และพัฒนาความเจริญตามแนวนโยบายของตนได้เต็มที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่การเกษตรในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้งด้วยการคิดค้นระบบชลประทาน การสร้างพีระมิดหรือสุสานขนาดใหญ่ไว้เพื่อเก็บศพของฟาโรห์ตามความเชื่อทางศา นาของชาวอียิปต์เรื่องโลกหลังความตายและการมีวิญญาณเป็นอมตะ และการคิดค้นปฏิทินเพื่อกำหนดฤดูกาลสำหรับการไถหว่านและเก็บเกี่ยว

อารยธรรมอียิปต์
ชนชาติอียิปต์โบราณตั้งถิ่นฐานในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนส์ เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน คริสต์ศักราช อารยธรรมอียิปต์ได้ให้ความรู้แก่มนุษยชาติมากมาย สืบเนื่องมาจากความเชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิด ทำให้ชาวอียิปต์คิดค้นการทำมัมมี่ศพเพื่อรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยและสร้างที่บรรจุศพอย่างแข็งแรง คือ ปิระมิด การสร้างปิระมิดต้องใช้กำลังคนจำนวนมากและใช้หลักการด้านกลศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสถาปัตยกรรมที่ล้ำยุค ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่สามารถให้คำตอบว่าคนสมัยโบราณสามารถทำได้อย่างไร
เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์โบราณได้ประดิษฐ์อักษรฮีโรกราฟิก (Hieroglyphic) ซึ่งเป็นอักษรภาพ ต่อมาอักษรภาพนี้ได้ดัดแปลงเป็นตัวเดโมติก (Demotic) ซึ่งใช้ในภาษากรีกปัจจุบัน ชาวอียิปต์โบราณสามารถคำนวณพื้นที่ของสี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้าและทรงกลม นอกจากนี้ชาวอียิปต์โบราณยังมีความรู้ด้านดาราศาสตร์อย่างดี และได้กำหนดปฏิทินของตนเอง โดยกำหนด 1 ปีมี 360 วัน และต่อมากำหนด 1 ปีมี 365 วัน โดยแบ่งออกเป็น 12 เดือน ความรู้ด้านชีวภาพของชาวอียิปต์โบราณ คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกายวิภาค และสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์ ซึ่งนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์สาขา ต่าง ๆ โดยเฉพาะจักษุแพทย์ ทันตแพทย์ และศัลยแพทย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่ชาวกรีกในสมัยต่อมา

ภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ ชาวอียิปต์เป็นชนชาติที่มีความสามารถในการคิดค้นเทคโนโลยีและวิทยาการความเจริญ ด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนาและการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่จักรวรรดิอียิปต์ เช่น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และฟิสิกส์ ได้ส่งเสริมความเจริญในด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ความรู้ด้านดาราศาสตร์ช่วยให้ชาวอียิปต์ประดิษฐ์ปฏิทินรุ่นแรกๆของโลก ความสามารถในการประดิษฐ์อักษรที่เรียกว่า “ไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphic) ทำให้เกิดการบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนาและฟาโรห์ และความเจริญทางการแพทย์ก็ทำให้ชาวอียิปต์สามารถคิดค้นวิธีผ่าตัดเพื่อรักษา ผู้ป่วย ตลอดจนใช้น้ำยารักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย (มัมมี่) ความเจริญเหล่านี้ทำให้สังคมอียิปต์เจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องหลายพันปี สามารถหล่อหลอมอารยธรรมของตนให้ก้าวหน้าและเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกใน เวลาต่อมา

ปัญหาสังคมทางการเมืองของประเทศอียิปต์ทำให้เกิดพวกศาสนาหัวรุนแรงขึ้น

ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งทั้งกลุ่มภราดรภาพมุสลิมและมอร์ซี่สัญญาว่า จะไม่เอาศาสนามายุ่งกับการเมือง และก็สามารถชนะเลือกตั้งมาอย่างชอบธรรม แต่ต่อมา ก็กลับดำเนินนโยบายต่าง ๆ ผลักดันอียิปต์ไปเป็นรัฐศาสนาแบบอิหร่านตามอุดมการณ์ดั้งเดิมของตน ใช้กฎหมายเล่นงานคนและสื่อที่ไม่ใช่ภราดรภาพมุสลิม คนคริสต์ และคนมุสลิมชีอะห์ จำกัดเสรีภาพและสถานะของผู้หญิง ให้พวกศาสนาหัวรุนแรงต่างประเทศเข้ามาเคลื่อนไหวในอียิปต์ เป็นต้น

กลุ่มภราดรภาพมุสลิมกับประชาชนอียิปต์ที่เป็นเสรีนิยม ที่เคยเป็นแนวร่วมกันโค่นล้มเผด็จการมูบารัค มาวันนี้จึงแตกหักกัน ประชาชนกลุ่มหลังออกมาชุมนุมขับไล่ประธานาธิบดีมอร์ซี่ ประกาศไม่เอารัฐศาสนาเรียกตัวเองว่ากบฏทามาร็อดพอฝ่ายกองทัพฉวยโอกาสรัฐประหารโค่นล้มมอร์ซี่ พวกทามาร็อดก็เฮ เชียร์ทหารกันใหญ่และเชื่อว่าทหารจะทำตามสัญญาที่จะคืนประชาธิปไตยให้แก่อียิปต์หลังจากจัดการกับพวกภราดรภาพมุสลิมแล้วพอพวกภราดรภาพมุสลิมระดมสรรพกำลังออกมาชุมนุมประท้วง ก็เจอทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือนทามาร็อด ภาพที่เราเห็นในข่าวจะเป็นทหารตำรวจลุยกระทืบ ลุยยิงพวกภราดรภาพมุสลิม แต่ยังมีการปะทะกันระหว่างพวกภราดรภาพมุสลิมกับพวกทามาร็อดด้วย ทั้งอิฐ หิน ท่อนไม้ เหล็ก ปืน ระเบิดปิงปอง ฯลฯ

คนภายนอกยากที่จะเข้าใจว่า ทำไมคนอิยิปต์จำนวนมากจึงเกลียดพวกภราดรภาพมุสลิมอย่างมาก เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในตะวันออกกลาง คนอียิปต์มีลักษณะพิเศษคือ แยกศาสนาออกจากการเมือง คนอียิปต์ส่วนใหญ่ถือว่า ตนเป็น “อียิปต์” เช่น ภาคภูมิใจในประวัตีศาสตร์เก่าแก่ ในปิระมิดและสฟิงก์ของตน ขณะที่พวกคลั่งศาสนาจะเรียกร้องให้ทุบทิ้งให้หมด เพราะเป็น “วัตถุนอกศาสนา” ประเทศอียิปต์ยังมีชุมชนคริสเตียนที่ใหญ่มากและอยู่อย่างสันติกับคนมุสลิมมาอย่างดีนานเป็นพันปีแล้ว มุสลิมนิกายสุหนี่ส่วนใหญ่กับนิกายชีอะห์ก็อยู่กันดีมาตลอดเช่นกัน ขณะที่พวกภราดรภาพมุสลิมที่เป็นสุหนี่จะเกลียดทั้งพวกคริสต์และพวกชีอะห์ประเทศอียิปต์มีปัญหากับพวกคลั่งศาสนามานานหลายสิบปี บางครั้งก็รุนแรงมาก นายกรัฐมนตรีอิยิปต์ เคยถูกพวกคลั่งศาสนาลอบสังหารมาแล้วในปี 2491 แม้แต่ประธานาธิบดีซาดัต ก็ถูกลอบสังหารเมื่อปี 2524 โดยพวกอิยิปต์จิฮัด

ประเทศอียิปต์กับการปฏิรูประบบการเมืองและสังคม

อียิปต์เป็นดินแดนที่น่าพิศวงมากประเทศหนึ่ง คนทั่วไปมองว่าอารยธรรมอียิปต์มีความเชื่อที่เล้นลับแฝงอยู่มากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ซ่อนความเจริญด้านต่างๆ ไว้อย่างมากมายด้วยเช่นกัน เมื่อย้อนมาพิจารณาดูว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อียิปต์มีความรุ่งเรืองและถึงกับเป็นดินแดนที่น่าพิศวง ตลอดจนมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญมากมาย เช่น ปิรามิค วิหารขนาดใหญ่ เป็นต้น

ด้านสังคม ในอียิปต์แม้จะมีการแบ่งชนชั้น แต่ก็ไม่มีระบบชนชั้นที่ถาวร สังคมอียิปต์แบ่งประชาชนออกเป็นชนชั้นแต่ในสมัยจักรวรรดิมีทหารอาชีพขึ้นมา เมื่อฟาโรห์มีนโยบายจะขยายอำนาจและอาณาเขต และได้เชลยศึกมาเป็นทาสจำนวนมากจากการรบชนะ ทำให้อียิปต์มีชนชั้นเพิ่มอีก 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นที่ 6 ทหารอาชีพ และชนชั้นที่ 7 ทาส

ทหารจะถูกเกณฑ์ไปทำงานในเหมืองหินและที่ดินของวัด ต่อมาก็ถูกเกณฑ์เป็นทหารและบ้างก็ไปรับใช้ฟาโรห์ ในอาณาจักรสมัยเก่า พระและขุนนางมีอำนาจมากอยู่ใต้ฟาโรห์ สมัยอาณาจักรกลาง สามัญชนเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง พ่อค้าและชาวไร่ชาวนา ได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐบาล การสร้างอาณาจักรมีผลทำให้เกิดขุนนางชนชั้นใหม่ขึ้นคือข้าราชการ

ขุนนางที่ร่ำรวยจะอาศัยอยู่ในบ้านตากอากาศที่หรูหราติดกับสวนที่มีกลิ่นดอกไม้ อาหารมีจำนวนหลากหลาย เช่น อาหารประเภทเนื้อ ไก่ ขนมต่างๆ ผลไม้ เหล้าองุ่นแฃะของหวานชนิดต่างๆ ภาชนะที่ใช้ทำด้วยอลาบาสาคอร์ ทองคำและเงินแต่งกายราคาแพงและประดับเพชรพลอยราคาสูง ตรงกันข้ามกัขชีวิตของคนยากจนที่น่าสงสาร บ้านของคนจนในเมืองนั้นจะแออัด สร้างด้วยโคลน ส่วนชาวนาที่อาศัยในทุ่งนาผืนใหญ่ จะอยู่ในบ้านที่ไม่แออัดเท่าในเมืองแต่มีชีวิตไม่สะดวกสบาย สถานภาพสตรีของชาวอียิปต์ ห้ามมีสามีภารยาหลายคน แม้แต่ฟาโรห์ซึ่งสามารถมีฮาเร็มที่มีสนมและนางบำเรอจำนวนมากอาศัยอยู่ แต่ฟาโรห์ก็มีมเหสีองค์เดียว สตรอียิปต์ยังไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของชายทั้งหมดทีเดียว ภรรยาจะไม่ถูกแบ่งแยกแต่สตรีสามารถมีกรรมสิทธิ์รับมรดกและประกอบธุรกิจได้

สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในอียิปต์ ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง หลังการประท้วงใหญ่นองเลือดเมื่อวันพุธที่แล้ว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 698 ศพ บาดเจ็บประมาณ 4,000 คน ฝ่ายสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด มอร์ซี ที่ถูกกองทัพยึดอำนาจ ประกาศจะเดินหน้าประท้วงต่อไป จนกว่ามอร์ซีจะได้อำนาจกลับคืน อียิปต์ขัดแย้งกันทางการเมือง ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนคู่กรณีหลักคือกองทัพ กับกลุ่มผู้สนับสนุนมอร์ซี กองทัพอียิปต์เป็นสถาบันที่แข็งแกร่ง และควบคุมเศรษฐกิจราว 35–40% ของประเทศ นักวิเคราะห์มองว่า กองทัพจะควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ความรุนแรงนองเลือดอาจจะยืดเยื้ออีกนานหลายเดือน หรือหลายปี แล้วท้ายสุดทั้ง 2 ฝ่ายก็จะหันหน้าเข้าหากัน และพยายามบรรลุข้อตกลง

การประท้วงผ่าน Internet และ Social Network มีเป้าหมายทางการเมืองของอียิปต์

การประท้วงผ่าน Internet และ Social Network มีเป้าหมายทางการเมืองของอียิปต์

ความวุ่นวายทางการเมืองในตะวันออกกลาง เริ่มส่อเค้าตั้งต้นในตูนิเซียเมื่อปลายปี 2553 ที่ผ่านมา เนื่องจากภายใต้การปกครองในระบบเผด็จการทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง เมื่อราคาอาหารและพลังงานพุ่งสูงขึ้น จึงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจนอยู่แล้ว จนก่อให้เกิดการประท้วงในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ปัญหาความวุ่นวายเริ่มลามจากตูนิเซียไปยังประเทศใกล้เคียงคือ อัลบาเนีย และแอลจีเรีย แม้ว่าใน 2 ประเทศหลังจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ในกรณีของตูนิเซีย ผู้นำประเทศได้ลาออกในวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา การประท้วงดังกล่าวกลายเป็นตัวอย่างให้ประชาชนหลายประเทศในตะวันออกกลางทำตาม การประท้วงจึงลุกลามไปยังประเทศ จอร์แดน โอมาน เยเมน เลบานอน และเกิดการประท้วงสั้นๆ ในซาอุดีอาระเบีย จนกระทั่งในที่สุดเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในอียิปต์ ซึ่งส่งผลให้ประธานาธิบดีต้องลาออกในที่สุด นับว่าเป็นสิ่งผิดความคาดหมาย เนื่องจากประธานาธิบดีมูบารัค ปกครองอียิปต์และครองอำนาจเบ็ดเสร็จเต็มที่มาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี  จากอียิปต์เหตุการณ์ยังได้ลุกลามไปอีก 2 ประเทศคือ ปาเลสไตน์ และโมร็อกโก

ประเด็นหลักที่คนส่วนใหญ่กังวลคือ ปัญหาอาจจะลุกลามไปยังประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในตะวันออกกลาง ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน คูเวต สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอิรัก แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีวี่แววว่าปัญหาจะลุกลามไปยังประเทศเหล่านี้ มีเพียงการประท้วงในซาอุดีอาระเบีย แต่ไม่รุนแรงและในช่วงสั้นๆ เท่านั้น สาเหตุหลักก็คือ ประเทศเหล่านี้ (ยกเว้นอิรัก) เป็นประเทศที่ร่ำรวยจากการขายน้ำมัน โดยเฉพาะคูเวตและสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดังนั้น รัฐบาลจึงสามารถดูแลปัญหาปากท้องของประชาชนได้ ซึ่งต่างจากประเทศที่การประท้วงเกิดจากปัญหาความยากจน การว่างงาน และถูกซ้ำเติมจากราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น ส่วนในอิรักนั้น เนื่องจากยังมีปัญหาในตัวเองที่ซับซ้อน จึงทำให้โอกาสที่จะเกิดการต่อต้านรัฐบาลเหมือนอียิปต์มีน้อยมาก ดังนั้น โอกาสที่วิกฤติจะลามไปประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่นๆจึงไม่สูงนักอย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในอียิปต์ก็ยังมีความไม่แน่นอนสูง แม้ว่าประธานาธิบดีมูบารัคได้ลาออกจากตำแหน่งและผู้นำทางการทหารของอียิปต์ได้ให้คำมั่นว่าจะจัดการเลือกตั้งที่ยุติธรรมให้เร็วที่สุด แต่ทว่าสถานการณ์ทางการเมืองทั้งในและต่างประเทศยังมีความสับสนและเปราะบางมาก กรณีสถานการณ์ภายในประเทศนั้น ในกลุ่มผู้ประท้วงเองมีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งผมขอแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มชนชั้นกลางมีการศึกษา ซึ่งเป็นแกนกลางในการจัดการประท้วงโดยผ่านระบบ Internet และ Social Network มีเป้าหมายให้การปกครองของอียิปต์เป็นแบบมุสลิมประชาธิปไตยเหมือนตุรกี กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มภราดรภาพของชาวมุสลิม หรือ  The Muslim Brotherhood ซึ่งเป็นองค์การเก่าแก่ จัดตั้งในปี 2471 และมีสาขาหลายแห่งในโลก แม้ว่าจะไม่ใช่กลุ่มหัวรุนแรงแต่ก็มีแนวโน้มและเป้าหมายที่จะนำประเทศไปสู่แนวทางของอิสลาม ถึงแม้ทางกลุ่มประกาศว่าจะไม่ส่งตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้ แต่แกนนำกลุ่มก็สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในนามผู้สมัครอิสระได้ กลุ่มสุดท้ายก็คือประชาชนทั่วไปที่ยากจนและได้รับความเดือดร้อนจากราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งไม่ได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองใดๆ