ประเทศอียิปต์กับการปฏิรูประบบการเมืองและสังคม

อียิปต์เป็นดินแดนที่น่าพิศวงมากประเทศหนึ่ง คนทั่วไปมองว่าอารยธรรมอียิปต์มีความเชื่อที่เล้นลับแฝงอยู่มากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ซ่อนความเจริญด้านต่างๆ ไว้อย่างมากมายด้วยเช่นกัน เมื่อย้อนมาพิจารณาดูว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อียิปต์มีความรุ่งเรืองและถึงกับเป็นดินแดนที่น่าพิศวง ตลอดจนมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญมากมาย เช่น ปิรามิค วิหารขนาดใหญ่ เป็นต้น

ด้านสังคม ในอียิปต์แม้จะมีการแบ่งชนชั้น แต่ก็ไม่มีระบบชนชั้นที่ถาวร สังคมอียิปต์แบ่งประชาชนออกเป็นชนชั้นแต่ในสมัยจักรวรรดิมีทหารอาชีพขึ้นมา เมื่อฟาโรห์มีนโยบายจะขยายอำนาจและอาณาเขต และได้เชลยศึกมาเป็นทาสจำนวนมากจากการรบชนะ ทำให้อียิปต์มีชนชั้นเพิ่มอีก 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นที่ 6 ทหารอาชีพ และชนชั้นที่ 7 ทาส

ทหารจะถูกเกณฑ์ไปทำงานในเหมืองหินและที่ดินของวัด ต่อมาก็ถูกเกณฑ์เป็นทหารและบ้างก็ไปรับใช้ฟาโรห์ ในอาณาจักรสมัยเก่า พระและขุนนางมีอำนาจมากอยู่ใต้ฟาโรห์ สมัยอาณาจักรกลาง สามัญชนเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง พ่อค้าและชาวไร่ชาวนา ได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐบาล การสร้างอาณาจักรมีผลทำให้เกิดขุนนางชนชั้นใหม่ขึ้นคือข้าราชการ

ขุนนางที่ร่ำรวยจะอาศัยอยู่ในบ้านตากอากาศที่หรูหราติดกับสวนที่มีกลิ่นดอกไม้ อาหารมีจำนวนหลากหลาย เช่น อาหารประเภทเนื้อ ไก่ ขนมต่างๆ ผลไม้ เหล้าองุ่นแฃะของหวานชนิดต่างๆ ภาชนะที่ใช้ทำด้วยอลาบาสาคอร์ ทองคำและเงินแต่งกายราคาแพงและประดับเพชรพลอยราคาสูง ตรงกันข้ามกัขชีวิตของคนยากจนที่น่าสงสาร บ้านของคนจนในเมืองนั้นจะแออัด สร้างด้วยโคลน ส่วนชาวนาที่อาศัยในทุ่งนาผืนใหญ่ จะอยู่ในบ้านที่ไม่แออัดเท่าในเมืองแต่มีชีวิตไม่สะดวกสบาย สถานภาพสตรีของชาวอียิปต์ ห้ามมีสามีภารยาหลายคน แม้แต่ฟาโรห์ซึ่งสามารถมีฮาเร็มที่มีสนมและนางบำเรอจำนวนมากอาศัยอยู่ แต่ฟาโรห์ก็มีมเหสีองค์เดียว สตรอียิปต์ยังไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของชายทั้งหมดทีเดียว ภรรยาจะไม่ถูกแบ่งแยกแต่สตรีสามารถมีกรรมสิทธิ์รับมรดกและประกอบธุรกิจได้

สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในอียิปต์ ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง หลังการประท้วงใหญ่นองเลือดเมื่อวันพุธที่แล้ว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 698 ศพ บาดเจ็บประมาณ 4,000 คน ฝ่ายสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด มอร์ซี ที่ถูกกองทัพยึดอำนาจ ประกาศจะเดินหน้าประท้วงต่อไป จนกว่ามอร์ซีจะได้อำนาจกลับคืน อียิปต์ขัดแย้งกันทางการเมือง ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนคู่กรณีหลักคือกองทัพ กับกลุ่มผู้สนับสนุนมอร์ซี กองทัพอียิปต์เป็นสถาบันที่แข็งแกร่ง และควบคุมเศรษฐกิจราว 35–40% ของประเทศ นักวิเคราะห์มองว่า กองทัพจะควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ความรุนแรงนองเลือดอาจจะยืดเยื้ออีกนานหลายเดือน หรือหลายปี แล้วท้ายสุดทั้ง 2 ฝ่ายก็จะหันหน้าเข้าหากัน และพยายามบรรลุข้อตกลง