ปัญหาสังคมทางการเมืองของประเทศอียิปต์ทำให้เกิดพวกศาสนาหัวรุนแรงขึ้น

ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งทั้งกลุ่มภราดรภาพมุสลิมและมอร์ซี่สัญญาว่า จะไม่เอาศาสนามายุ่งกับการเมือง และก็สามารถชนะเลือกตั้งมาอย่างชอบธรรม แต่ต่อมา ก็กลับดำเนินนโยบายต่าง ๆ ผลักดันอียิปต์ไปเป็นรัฐศาสนาแบบอิหร่านตามอุดมการณ์ดั้งเดิมของตน ใช้กฎหมายเล่นงานคนและสื่อที่ไม่ใช่ภราดรภาพมุสลิม คนคริสต์ และคนมุสลิมชีอะห์ จำกัดเสรีภาพและสถานะของผู้หญิง ให้พวกศาสนาหัวรุนแรงต่างประเทศเข้ามาเคลื่อนไหวในอียิปต์ เป็นต้น

กลุ่มภราดรภาพมุสลิมกับประชาชนอียิปต์ที่เป็นเสรีนิยม ที่เคยเป็นแนวร่วมกันโค่นล้มเผด็จการมูบารัค มาวันนี้จึงแตกหักกัน ประชาชนกลุ่มหลังออกมาชุมนุมขับไล่ประธานาธิบดีมอร์ซี่ ประกาศไม่เอารัฐศาสนาเรียกตัวเองว่ากบฏทามาร็อดพอฝ่ายกองทัพฉวยโอกาสรัฐประหารโค่นล้มมอร์ซี่ พวกทามาร็อดก็เฮ เชียร์ทหารกันใหญ่และเชื่อว่าทหารจะทำตามสัญญาที่จะคืนประชาธิปไตยให้แก่อียิปต์หลังจากจัดการกับพวกภราดรภาพมุสลิมแล้วพอพวกภราดรภาพมุสลิมระดมสรรพกำลังออกมาชุมนุมประท้วง ก็เจอทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือนทามาร็อด ภาพที่เราเห็นในข่าวจะเป็นทหารตำรวจลุยกระทืบ ลุยยิงพวกภราดรภาพมุสลิม แต่ยังมีการปะทะกันระหว่างพวกภราดรภาพมุสลิมกับพวกทามาร็อดด้วย ทั้งอิฐ หิน ท่อนไม้ เหล็ก ปืน ระเบิดปิงปอง ฯลฯ

คนภายนอกยากที่จะเข้าใจว่า ทำไมคนอิยิปต์จำนวนมากจึงเกลียดพวกภราดรภาพมุสลิมอย่างมาก เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในตะวันออกกลาง คนอียิปต์มีลักษณะพิเศษคือ แยกศาสนาออกจากการเมือง คนอียิปต์ส่วนใหญ่ถือว่า ตนเป็น “อียิปต์” เช่น ภาคภูมิใจในประวัตีศาสตร์เก่าแก่ ในปิระมิดและสฟิงก์ของตน ขณะที่พวกคลั่งศาสนาจะเรียกร้องให้ทุบทิ้งให้หมด เพราะเป็น “วัตถุนอกศาสนา” ประเทศอียิปต์ยังมีชุมชนคริสเตียนที่ใหญ่มากและอยู่อย่างสันติกับคนมุสลิมมาอย่างดีนานเป็นพันปีแล้ว มุสลิมนิกายสุหนี่ส่วนใหญ่กับนิกายชีอะห์ก็อยู่กันดีมาตลอดเช่นกัน ขณะที่พวกภราดรภาพมุสลิมที่เป็นสุหนี่จะเกลียดทั้งพวกคริสต์และพวกชีอะห์ประเทศอียิปต์มีปัญหากับพวกคลั่งศาสนามานานหลายสิบปี บางครั้งก็รุนแรงมาก นายกรัฐมนตรีอิยิปต์ เคยถูกพวกคลั่งศาสนาลอบสังหารมาแล้วในปี 2491 แม้แต่ประธานาธิบดีซาดัต ก็ถูกลอบสังหารเมื่อปี 2524 โดยพวกอิยิปต์จิฮัด

การประท้วงผ่าน Internet และ Social Network มีเป้าหมายทางการเมืองของอียิปต์

การประท้วงผ่าน Internet และ Social Network มีเป้าหมายทางการเมืองของอียิปต์

ความวุ่นวายทางการเมืองในตะวันออกกลาง เริ่มส่อเค้าตั้งต้นในตูนิเซียเมื่อปลายปี 2553 ที่ผ่านมา เนื่องจากภายใต้การปกครองในระบบเผด็จการทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง เมื่อราคาอาหารและพลังงานพุ่งสูงขึ้น จึงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจนอยู่แล้ว จนก่อให้เกิดการประท้วงในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ปัญหาความวุ่นวายเริ่มลามจากตูนิเซียไปยังประเทศใกล้เคียงคือ อัลบาเนีย และแอลจีเรีย แม้ว่าใน 2 ประเทศหลังจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ในกรณีของตูนิเซีย ผู้นำประเทศได้ลาออกในวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา การประท้วงดังกล่าวกลายเป็นตัวอย่างให้ประชาชนหลายประเทศในตะวันออกกลางทำตาม การประท้วงจึงลุกลามไปยังประเทศ จอร์แดน โอมาน เยเมน เลบานอน และเกิดการประท้วงสั้นๆ ในซาอุดีอาระเบีย จนกระทั่งในที่สุดเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในอียิปต์ ซึ่งส่งผลให้ประธานาธิบดีต้องลาออกในที่สุด นับว่าเป็นสิ่งผิดความคาดหมาย เนื่องจากประธานาธิบดีมูบารัค ปกครองอียิปต์และครองอำนาจเบ็ดเสร็จเต็มที่มาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี  จากอียิปต์เหตุการณ์ยังได้ลุกลามไปอีก 2 ประเทศคือ ปาเลสไตน์ และโมร็อกโก

ประเด็นหลักที่คนส่วนใหญ่กังวลคือ ปัญหาอาจจะลุกลามไปยังประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในตะวันออกกลาง ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน คูเวต สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอิรัก แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีวี่แววว่าปัญหาจะลุกลามไปยังประเทศเหล่านี้ มีเพียงการประท้วงในซาอุดีอาระเบีย แต่ไม่รุนแรงและในช่วงสั้นๆ เท่านั้น สาเหตุหลักก็คือ ประเทศเหล่านี้ (ยกเว้นอิรัก) เป็นประเทศที่ร่ำรวยจากการขายน้ำมัน โดยเฉพาะคูเวตและสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดังนั้น รัฐบาลจึงสามารถดูแลปัญหาปากท้องของประชาชนได้ ซึ่งต่างจากประเทศที่การประท้วงเกิดจากปัญหาความยากจน การว่างงาน และถูกซ้ำเติมจากราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น ส่วนในอิรักนั้น เนื่องจากยังมีปัญหาในตัวเองที่ซับซ้อน จึงทำให้โอกาสที่จะเกิดการต่อต้านรัฐบาลเหมือนอียิปต์มีน้อยมาก ดังนั้น โอกาสที่วิกฤติจะลามไปประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่นๆจึงไม่สูงนักอย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในอียิปต์ก็ยังมีความไม่แน่นอนสูง แม้ว่าประธานาธิบดีมูบารัคได้ลาออกจากตำแหน่งและผู้นำทางการทหารของอียิปต์ได้ให้คำมั่นว่าจะจัดการเลือกตั้งที่ยุติธรรมให้เร็วที่สุด แต่ทว่าสถานการณ์ทางการเมืองทั้งในและต่างประเทศยังมีความสับสนและเปราะบางมาก กรณีสถานการณ์ภายในประเทศนั้น ในกลุ่มผู้ประท้วงเองมีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งผมขอแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มชนชั้นกลางมีการศึกษา ซึ่งเป็นแกนกลางในการจัดการประท้วงโดยผ่านระบบ Internet และ Social Network มีเป้าหมายให้การปกครองของอียิปต์เป็นแบบมุสลิมประชาธิปไตยเหมือนตุรกี กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มภราดรภาพของชาวมุสลิม หรือ  The Muslim Brotherhood ซึ่งเป็นองค์การเก่าแก่ จัดตั้งในปี 2471 และมีสาขาหลายแห่งในโลก แม้ว่าจะไม่ใช่กลุ่มหัวรุนแรงแต่ก็มีแนวโน้มและเป้าหมายที่จะนำประเทศไปสู่แนวทางของอิสลาม ถึงแม้ทางกลุ่มประกาศว่าจะไม่ส่งตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้ แต่แกนนำกลุ่มก็สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในนามผู้สมัครอิสระได้ กลุ่มสุดท้ายก็คือประชาชนทั่วไปที่ยากจนและได้รับความเดือดร้อนจากราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งไม่ได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองใดๆ