ประเทศอียิปต์ในสมัยโบราณมีบริเวณที่สำคัญมากมาย

22

อียิปต์อาศัยความสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์จึงเจริญยาวนาน ในสมัยโบราณอียิปต์ใช้แม่น้ำไนล์ในการดำรงชีวิตอยู่ อียิปต์เป็นประเทศที่มีอากาศร้อน และแห้งแล้ง มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในช่วงฤดูหนาวและตกเฉพาะบริเวณเดลต้า อียิปต์ได้อาศัยความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ถ้าขาดแม่น้ำไนล์อียิปต์ก็จะไม่แตกต่างกับทะเลทรายที่ร้อนระอุ เฮโรโดดัส นักประวัติศาสตร์กรีกโบราณได้กล่าวไว้ว่า อียิปต์เป็นของขวัญของแม่น้ำไนล์ อียิปต์บน ได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา มีความยายประมาณ 500 ไมล์ ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตาเต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้งอียิปต์ล่างหรืออียิปต์ต่ำ ได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัด ไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณนี้ชาวกรีกโบราณเรียกว่า เดลต้า เป็ยบริเวณปลายสุดของลำน้ำ มีความยาวประมาณ 100 ไมล์ อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขั้นในแถบนี้

ความแตกต่างของสภาพภูมิศาสตร์อียิปต์ทั้งสองภาคนี้ คือภาคหนึ่งเป็นที่สูงและอีกภาคหนึ่งเป็นที่ลุ่ม อียิปต์ได้เปรียบประเทศอื่นในแถบตะวันออกใกล้ในเรื่องกำแพงธรรมชาติ ที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่นไว้ได้มาก ทางใต้แม่น้ำไนล์ที่อยู่ใต้เขตแดนอียิปต์ลงไปอยู่บนที่สูงมีแนวน้ำตกมาก ทำให้การรุกรานเข้ามาในอียิปต์โดยทางเรือยากมาก ยกเว้นทางตะวันออกและตะวันตก และการโจมตีทางบกจากพวกชนเผ่าเซติมิคที่เป็นพวกเร่ร่อน สมัยก่อนราชวงศ์ อียิปต์ที่แยกกันอยู่อย่างอิสระ หรือจังหวัดเล็ก ๆ ที่เรียกว่าโนมิส ซึ่งจะมีสัญลักษณ์ของตนต่างกันเช่น สุนัข เหยี่ยว แมงป่อง เป็นต้น จังหวัดเล็ก ๆ เหล่านี้มีประมาณ 40 แห่งมีอารยธรรมที่ก้าวหน้ามากแล้ว แม้ว่าความรู้ในสมัยนี้มีไม่มากนักเพราะไม่มีการบันทึกไว้ มีการทดน้ำทำเขื่อน และมีการประดิษฐ์ตัวอักษรรูปภาพของอียิปต์ใช้แล้ว เพราะอักษรอียิปต์ที่จารึกในสมัยราชวงศ์หนึ่ง คือในสมัยฟาโรห์เมนิส เป็นอักษรที่มีรูปแบบแผนที่ซับซ้อนมาก มีการปลูกต้นป่านลินินใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม